ลักษณะหญ้าเทียม

รูปแบบต่างๆของหญ้าเทียมสนามฟุตบอล

รูปแบบต่างๆของหญ้าเทียมสนามฟุตบอล
สำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างสนามบอลหญ้าเทียมของตัวเอง แน่นอนว่าสิ่งที่ต้องคำนึงถึงมีหลายเรื่องมาก ไม่ว่าจะเป็นการออกแบบสนาม ขนาดของสนาม โครงสร้าง ปรับพื้น เลือกผู้รับเหมา รวมไปถึงการเลือกหญ้า ซึ่งหญ้าสำหรับสนามบอลก็มีหลากหลายรุ่น หลากหลายเทคโนโลยี่ที่ถูกสร้างมาเพื่อให้หญ้าดีขึ้น และดีขึ้นไปอีก Grassy Turf จะมาเล่าให้คุณฟังว่าหญ้าแต่ละรุ่นแต่ละShape มันต่างกันยังไง

หญ้าแบบ Non Shape

  • ใบหญ้าลักษณะแบน ซึ่งไม่ค่อยคงทนเนื่องจากใบมักจะแตกออกเมื่อใช้งานไปได้ซักพัก
  • ใบหญ้าลักษณะเป็นทรงเหลี่ยมเพชร ใบแข็งแรงกว่าแบบแบนก็จริง แต่ก็คืนตัวน้อย
  • ใบหญ้าแบบมี Shape ลดปัญหาเรื่องใบแตก มีการคืนตัวที่ดีกว่า และแน่นอนว่าอายุการใช้งานยาวกว่า และมีความเหมือนกับหญ้าธรรมชาติ

S  Shape

  • จุดเด่นคือมีจุดโค้งถึงสองจุด ซึ่งช่วยให้ใบหญ้าคืนตัวได้ดี กว่าหญ้าพวกรุ่น V Shape, C Shape หรือ U Shape

3 Stem  Shape

  • ใบหญ้ารุ่น 3แกน เป็นรุ่นที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดมาจากรุ่นแกนเดียว ซึ่งคืนตัวได้ดีกว่ารุ่นแกนเดียว และยังแข็งกระด้างน้อยกว่าอีกด้วย

Omega Shape

  • เป็นหญ้ารุ่นใหม่ล่าสุดที่มีความนุ่ม สามารถรับแรงกระแทกได้ดีขึ้น และยังมีความสามารถในการคืนตัวสูง กว่าหญ้ารุ่นอื่นๆอีกด้วย

 

ลักษณะหญ้าเทียม

 

 

ผ่านไปแล้วกับ รูปแบบต่างๆของหญ้าเทียมสนามฟุตบอล
เราหวังว่าบทความของเราจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกหญ้เทียมของคุณบ้างไม่มากก็น้อย
ขอให้คุณมีความสุขกับการเลือกหญ้าเทียมนะคะ สวัสดีค่ะ

สนใจสินค้าหญ้าเทียม รับติดตั้งครบวงจรได้ที่ www.grassthai.com

Line ID: @grassthai / โทร.081-5591469

พื้นหลังหญ้าเทียม

ไม่ใช่แค่หญ้าเทียม พื้นหลังของหญ้าเทียมก็ต้องใส่ใจ

การเลือกหญ้าจะว่าซับซ้อนก็ใช่ จะว่าง่ายก็ไม่ผิด มันมีไม่กี่เรื่องหรอกที่คุณต้องให้ความสนใจก่อนจะตัดสินใจว่าหญ้าแบบไหนที่คุณจะซื้อ และหนึ่งในประเด็นหลักๆที่เราต้องคำนึงถึงก็คือพื้นหลัง จุดที่เรียกได้ว่าหญ้าจะทนไม่ทนก็ดูกันที่ตรงนี้แหล่ะ โดยมากแล้วเราควรคาดหวังให้พื้นหลังของหญ้าต้องมีความหนาและแข็งแรง ซึ่งโดยมาแล้วในหญ้าความยาว 10มิล ซึ่งเป็นหญ้าที่ใช้ในงานที่เรียกว่าชั่วคราว ใช้ระยะสั้นก็มักจะทำพื้นหลังแค่ชั้นเดียว (Single Layer) โดยจะใช้แค่ PP (Polypropylene) และเคลือบด้วย SBR Latex อีกหนึ่งชั้นซึ่งมีทั้งเคลือบด้วยเครื่องจักร หรือกระทั่งในงานลดต้นทุนบางที่ก็ใช้เป็นเคลือบมือแทนก็มี มาถึงรุ่นหญ้าที่มีสเปคการใช้งานที่ยาวขึ้นมาหน่อยอย่างหญ้าที่มีขนาดความสูงของใบหญ้าตั้งแต่ 20มิล ขึ้นไป โดยสามารถแบ่งได้เป็นสองประเภทคือ เพิ่ม Non Woven เข้าไปก่อนเคลือบด้วย SBR Latex อีกชั้น ซึ่งมีความคงทนที่ค่อนข้างต่ำและฉีกขาดง่าย หรือถ้าให้เราแนะนำคือควรเลือกซื้อเป็นรุ่นหญ้าเทียมที่ใช้เป็น Net Clothing เคลือบด้วย SBR Latex แทน เนื่องจากคงทนกับแรงฉีกขาดมากกว่า (วิธีดูคือมีวัสดุเป็นลักษณะที่เป็นตาข่ายอยู่ด้านหลัง) ซึ่งเป็นสเปคที่ถือว่าดีแล้วสำหรับหญ้าตกแต่ง แต่ถ้าเป็นสนามบอลอาจต้องใช้สเปคที่แตกต่างออกไปอีก ซึ่งเราจะมาพูดถึงกันในวันหลัง สรุปว่าโดยมาตรฐานแล้วพื้นหลังที่ดีและได้มาตรฐานจึงควรจะอยู่ที่ประมาณ2ชั้น ซึ่งสามารถสังเกตุได้ทั้งจากกและ การพลิกดูด้านหลังก็ได้ ยิ่งคุณเห็นเส้นหญ้าหลุดออกมาเยอะเท่าไหร่ก็แปลว่าเคลือบพื้นหลังมาน้อยเท่านั้น บางที่ที่เราเคยเจอมาบอบบางขนาดที่แค่ใช้มือฉีกก็ขาด ในเคสที่คุณคิดว่าจะใช้หญ้าแบบใช้แล้วทิ้ง นี่อาจไม่ใช่ปัญหาแต่ถ้าแพลนของคุณคือการปูในบ้าน ระยะยาวคุณควรลงทุนกับมัน เพราะถ้าซื้อมาแล้วพังไวแปลว่าเดี๋ยวคุณได้เสียเงินเพื่อซื้อหญ้าใหม่แน่นอน แล้วพบกันใหม่ในบทความหน้า

 

 

พื้นหลังหญ้าเทียม

 

ผ่านไปแล้วกับ เรื่องของพื้นหลังหญ้าเทียม
เราหวังว่าบทความของเราจะเป็นประโยชน์ต่อการตัดสินใจเลือกหญ้เทียมของคุณบ้างไม่มากก็น้อย
ขอให้คุณมีความสุขกับการเลือกหญ้าเทียมนะคะ สวัสดีค่ะ

สนใจสินค้าหญ้าเทียม รับติดตั้งครบวงจรได้ที่ www.grassthai.com

Line ID: @grassthai / โทร.081-5591469